เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์

เครื่องมือสำหรับการสอนออนไลน์ในลักษณะที่เป็นเรียวไทม์หรือสอนแบบเห็นหน้าเห็นตาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อที่จะได้สอนตามเวลาที่กำหนดในตารางสอน จะได้นัดหมายนักศึกษามาเข้าเรียนได้ตามปกติ มีเครื่องลักษณะดังกล่าวหลากหลายเป็นไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะถนัดและได้รับการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย มีคุณภาพและการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน แต่มีคุณลักษณะเดียวกันคือสามารถที่จะใช้สอนออนไลน์ได้เหมือนกัน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถพบกันได้ในเวลาเดียวกัน ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการสอนออนไลน์จะเป็นลักษณะแตกต่างกันได้แก่

  • สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนแบบเรียวไทม์ได้เช่น เฟสบุ๊คซ์ไลฟ์ (Facebook live) , ไลน์ (LINE) , สไกด์ (Skype) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรแกรมสนทนาออนไลน์แบบเห็นหน้า เป็นการสนทนาแบบกลุ่มที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์ได้ แต่ไม่มีเครื่องมือช่วยในการบรรยายและควบคุมการนำเสนอต่าง ๆ มีลักษณะเป็นห้องสนทนาระหว่างบุคคลมากกว่า
  • การประชุมทางไกล (Video Conferencing) เป็นระบบการสื่อสารสองทางที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนออนไลน์มากที่สุด เนื่องจาก
    เป็นระบบที่สามารถพบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในทันที สามารถจัดกลุ่มในการเรียนในลักษณะชั้นเรียนได้ ควบคุมการบรรยายและการนำเสนอของผู้สอนและผู้เรียนได้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในแบบปฏิสัมพันธ์ในเวลาเดียวกัน
    กลุ่มนี้ได้แก่ Microsoft Team / Google Hangouts Meet / Google Classroom, Zoom.us , Webex Cisco, Youtube channel ฯลฯ

ส่วนโปรแกรมติดตั้งประเภทเชื่อมอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดออนไลน์ ควบคุมได้ด้วยตนเองก็เช่น OBS (Open Broadcast Software) คือโปรแกรม OpenSource ที่ต้องลงเครื่องเปิดให้ใช้งานฟรี บันทึกได้ นำมาขึ้นยูทูปได้อีกรอบ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกมากมาย

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้เกิดการหยุดชะงักกิจกรรมต่าง ๆ
การยกเลิกการประชุมทั่วโลก มีการยกเลิกการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยหลายแห่งเนื่องจากความวิตกกังวลในการที่
ผู้เรียนมาเรียนร่วมกันจะเกิดการติดเชื้อและการแพร่กระจายทำให้ควบคุมได้ยาก ความตื่นตระหนกสะท้อนไปถึงการขาดแคลนวัสดุป้องกันเชื้อ
ตลอดจนความวิตกกังวลที่จะเข้าร่วมการประชุมที่มีผู้คนเข้าร่วมมาก ๆ ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ต้องหันมาจัดในลักษณะการออนไลน์

เพื่อให้กิจกรรมดำเนินต่อไปได้โดยที่ผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทุกคนสามารถสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลาแม้จะอยู่ห่างกัน จึงจำเป็น
ต้องมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล (Video Conferencing) เข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการได้ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยการใช้โปรแกรมประชุมทางไกลที่มีให้เลือกอยู่มากมาย อาทิเช่น zoom.us , Microsoft Team, Google Meet ฯลฯ แต่ละอย่างมีลักษณะคล้าย ๆ กันแต่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของตนที่แตกต่างไปตามแต่ผู้ใช้งานจะเลือกใช้

ส่วนตัวผมเองตอนนี้ใช้ Webex Cisco เป็นหลัก เพราะทำงานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมงฟรี โดยไม่มีการตัดเริ่มต้นใหม่ ส่วน zoom.us เป็นระบบที่ดีมากทำงานคล้ายกันกับ Webex Cisco แต่เสียค่าใช้จ่าย ให้ใช้งานได้ฟรีเพียง 40 นาทแล้วก็ต้องเปิดห้องใหม่อยู่ตลอดเวลา MS Team ก็ต้องเป็นสมาชิกของไมโครซอฟท์ เช่นเดียวกันกับ Google ก็ต้องเป็นสมาชิกและมีอีเมลของ google ขณะที่ Webex Cisco สมัครแล้วใช้งานได้ทันที ข้อเสียก็คือต้องสมัครแล้วรออีเมลตอบทีละขั้นประมาณ 1-3 วัน ถ้าใครไม่รู้ก็นึกว่าไม่อนุญาตให้ใช้ก็จะไม่คลิกเข้าไปดูเงื่อนไขอย่างต่อเนื่องทำให้เสียสิทธิ แต่ถ้ารอจนได้รับ login/password จึงจะได้สิทธิเปิดห้องเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

ห้องประชุมระบบ Video Conferencing ด้วย Webex Cisco ของ รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ไปพบผมได้ที่นี่ครับ (14 เมษายน 2563)
https://meetingsapac3.webex.com/meet/prachyanun.n

ภาพ 1 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Webex Cisco ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 2 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาโทการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี พ.ศ.2563

ภาพ 3 ห้องเรียนออนไลน์ด้วย Zoom.us ของนักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ.2563
ภาพ 4 การประชุมออนไลน์ กลุ่มบำบัดผู้ติดวิทยานิพนธ์รุ่น covid-19
วันที่ 6 เมย. 63 เวลา 10:30 – 12:00 น. ด้วย Cisco Webex
ภาพ 5 สอนออนไลน์ด้วย zoom.us นักศึกษาปริญญาเอก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
หมู่ที่ 1 ต.ไร่ส้ม อ.เมืองฯ จ.เพชรบุรี (76000)

สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมตั้งอยู่บนเขากิ่ว ติดอยู่กับเขาบันไดอิฐ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ
จะมองเห็นก่อนเขาวัง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่ตั้งมาหลายสิบปี มีหลวงพ่อกันตะสิริภิกขุเป็นประธานสงฆ์

ผมเคยบวชเณรปฏิบัติและฝึกกรรมฐาน เจริญอาณาปาณะสติอยู่สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนและก็ยังคงปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนถึงปัจจุบัน

ผมเป็นกรรมการมูลนิธิศิริธรรมชุดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ.2563 ที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อทำหน้าที่ทะนุบำรุงสำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) และสำนักปฏิบัติศิริธรรม-นายาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่

ผมจึงไม่ใช่เพิ่งมาเข้าวัดตอนแก่หรือเผชิญทุกข์จนต้องแสวงหาที่พึ่ง แต่ติดตามบุพการีคือคุณพ่อและคุณแม่อุปถัมน์พระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังเด็ก
แม้จะสิ้นท่านทั้งสองไปแล้วก็ยังถวายทานและทำบุญถวายสังฆทานตลอดเดือนทุกเดือนแด่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อชำนาญและคุณแม่ประชัญ นิลสุข ไปตราบเท่าชีวิตจะหาไม่
ยึดมั่นและมั่นคง เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ศรัทธาไม่คลอนแคลนในพระพุทธศาสนา อันเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้น
ความปรารถนาที่จะละโลกนี้ไปโดยไม่คิดจะกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเป็นปรารถนาอันสูงสุดและไม่ปรารถนสิ่งใดอีก
จึงไม่มีคำตอบใดอีก เมื่อต้องตอบคำถามที่ว่าทำไมมาทำบุญที่สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรมเป็นประจำ สำนักฯ นี้ปฏิบัติอะไร สำนักฯ นี้ดีอย่างไร ฯลฯ

สุโข ปุญญัสสะ อุจจะโย การสั่งสมบุญนำสุขมาให้

อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ

“อิทัง ปุญญะผะลัง” ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งดีหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้วแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และ พระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

นิพพานะ ปัจจโย โหตุ

AI : วินาศสันตโนโลยีเพื่อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ 40 (40th WUNCA) (Workshop on UniNet Network and computer Application : 40 th WUNCA) ระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หัวข้อ AI : วินาศสันตโนโลยีเพื่อเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม AI : Disruptive Technology for Green Technology

R2R (Routine to Research) ตอนที่ 7

การดําเนินการโครงการ R2R (Routine to Research) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

R2R ตอนที่ 6 การเขียนบทสรุปงานวิจัย

การดําเนินการโครงการ R2R (Routine to Research) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

R2R (Routine to Research) ตอนที่ 5

การดําเนินการโครงการ R2R (Routine to Research) ตอนที่ 5 ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

R2R (Routine to Research) ตอนที่ 4

การดําเนินการโครงการ R2R (Routine to Research) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

การปฏิบัติงานประจำสู่การวิจัย Routine to Research: R2R ตอนที่3

ตอนที่ 3 ขั้นตอนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สไลด์บรรยาย การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

ตอนที่ 2 หัวข้อการปฏิบัติงานประจำสู่การวิจัย Routine to Research: R2R

ตอนที่ 2 หัวข้อการปฏิบัติงานประจำสู่การวิจัย Routine to Research: R2R สไลด์บรรยาย การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

การปฏิบัติงานประจำสู่การวิจัย Routine to Research: R2R ตอนที่1

ตอนที่ 1 การปฏิบัติงานประจำสู่การวิจัย Routine to Research: R2R สไลด์บรรยาย การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) ณ ห้องประชุมภูมิแผ่นดิน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562

“ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ” ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม