คลังเก็บหมวดหมู่: วีดิโอบรรยาย

วีดิโอบรรยายทางวิชาการ

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมภาควิชาการศึกษา ชั้น 3 อาคาร 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโดย สาขาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Keynote Speaker :
การประชุมวิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6
NCTAECT 6th National Conference on Thai Association Educational Communications and Technology:
บรรยายพิเศษ : DIGITAL TECHNOLOGY FOR LIFELONG LEARNING
ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2566

การแสดงภาพเครือข่ายบรรณานุกรมโดยใช้ Mendeley และ VOSviewer Visualizing bibliometric networks By Mendeley and VOSviewer

การแสดงภาพเครือข่ายบรรณานุกรมโดยใช้ Mendeley และ VOSviewer Visualizing bibliometric networks By Mendeley and VOSviewer
เป็นเทคนิคการวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometrci analysis) โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลสากลเช่น SCOPUS มาทำการวิเคราะห์เป็นแผนภาพเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย โดยการนำออก (export) ข้อมูลเป็นไฟล์ csv จากSCOPUS มาทำการวิเคราะห์ที่โปรแกรม VOS Viewer

ขณะที่โปรแกรมการทำบรรณานุกรมอัตโนมัติอย่างเมนเดเลย์ (Mendeley) ก็สามารถนำเอาบทความที่ต้องไปใส่เข้าไปใน Mendeley Library จากนั้นก็ทำการนำข้อมูลออกจาก Mendeley เฉพาะบทความที่ต้องการ แล้วนำมาวิเคราะห์บรรณมิติด้วย VOS Viewer ก็ได้ผลงานที่ง่ายกว่า สวยงามกว่า และแสดงข้อมูลเฉพาะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

คลิปนำเสนอโดย
น.ส.กิติยา พรหมสอน ศึกษานิเทศก์จังหวัดปทุมธานี นักศึกษาภาคปกติ DICT11

Scimago Graphica

โปรแกรม Scimago Graphica เป็นโปรแกรมสร้างการแสดงผลของข้อมูลในลักษณะของภาพและกราฟ ในแบบต่าง ๆ โดยนำข้อมูลมากจากฐานข้อมูลวิจัยต่าง ๆ ที่สรุปข้อมูลในรูปของไฟล์ CSV จากนั้นนำข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ มาทำการประมวลผลออกมาเป็นภาพ เชื่อมโยงให้เห็นว่าข้อมูลของงานวิจัย มีคำสำคัญเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีผู้เขียนบทความวิจัยที่อ้างอิงถึงกันอย่างไร เป็นโปรแกรมที่สร้างภาพความสัมพันธ์ของงานวิจัย เพื่อใช้ในการประกอบข้อมูลของบทความวิจัย พัฒนาโดย SCImago Lab คุณธนะรัตน์ กิ่งช้าง จัดทำคลิปวีดิโอเพื่ออธิบายวิธีการใช้งานโปรแกรม





การเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน เตรียมความพร้อมเพื่อรับประเมินการสอน

ผู้บรรยาย : ศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รายละเอียด : การอบรมหลักสูตรการเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน เตรียมความพร้อมเพื่อรับประเมินการสอน เป็นไปตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมกำหนด โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 มีหัวข้อการอบรมทั้งหมด 10 หัวข้อ ดังนี้ >>หัวข้อที่ 1 หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564 >>หัวข้อที่ 2 ส่วนต้นของเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน >>หัวข้อที่ 3 แผนบริหารการสอน >>หัวข้อที่ 4 การจัดทำเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอนตามแนวทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม >>หัวข้อที่ 5 แผนบริหารการสอนประจำบท >>หัวข้อที่ 6 เนื้อหาและหัวข้อสำหรับการบรรยาย >>หัวข้อที่ 7 การจัดทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Mendeley >>หัวข้อที่ 8 การเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอนที่เน้นสมรรถนะตามผลลัพธ์การเรียนรู้ >>หัวข้อที่ 9 เทคนิคการเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน >>หัวข้อที่ 10 การเขียนส่วนที่เพิ่มเติมจากคำอธิบายรายวิชา

https://cru-mooc.chandra.ac.th/subject-detail/62748acfdc827a1b0cde7ed0

การใช้โปรแกรม Gephi เบื้องต้น

การใช้โปรแกรม Gephi เบื้องต้น เป็นโปรแกรมที่จะกราฟิกแสดงการเชื่อมโยงของข้อมูลที่สัมพันธ์กัน ใช้ในการทำวิจัยที่แสดงการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตัวแปรที่เป็นหลักการหรือทฤษฎีที่มีการเชื่อมโยงกัน โดยจะแสดงผลของความเชื่อมโยงของตัวแปรในแบบกราฟิกส์

ผู้นำการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล

การอบรมเชิงปฏิบัติการฐานสมรรถนะแบบอิงประสบการณ์ด้วยชุมชน
นักปฏิบัติภควันตภาพเพื่อการเปลี่ยนผ่านของศึกษานิเทศดิจิทัลตามโครงการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์
สมรรถนะศึกษานิเทศก์ดิจิทัล (DIGITAL SUPERVISOR COMPETENCY)
หัวข้อ ผู้นำการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
วันที่ 1 มีนาคม 2565

การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ การตีพิมพ์บทความระดับนานาชาติ

การทำผลงานทางวิชาการ เกณฑ์และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
การตีพิมพ์บทความระดับนานาชาติ
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
วันที่ 31 สิงหาคม 2564

แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2

โครงการสัมมนาเรื่อง
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
ตอน วารสารที่ตีพิมพ์บทความนานาชาติในฐานข้อมูลสากล
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564